วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

GM 408 1/53

GM 408 1/53 ข้อสอบมี 4 ข้อ
1.การบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล นั้กนักศึกษาเข้าใจอย่างไรให้อธิบาย 10คะแนน และให้อธิบาย ระดับสายการบังคับบัญชาของฝ่ายบริหารมาอย่างละเอียด 15 คะแนน
2. ก่อนที่เราจะกำหนดกลยุทธ์ได้นั้น เราต้องศึกษาเรื่องใดบ้าง กรณีที่เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อจะได้นำผลการวิเคราะห์มากำหนดกลยุทธ ให้อธิบายมาอย่างละเอียด 25 คะแนน
3. ให้นักศึกษาอธิบายระดับการควบคุมมาทั้ง 3 ระดับ 15 คะแนน และให้บอกประโยชน์ของการควบคุมมามาอย่างน้อย5ข้อ
10คะแนน
4. การใช้งบประมาณเพื่อการควบคุมนั้น ผลกระทบของงบประมาณต่อพฤติกรรมมนุษย์ ให้อธิบายผลที่เกิดในด้านบวก และผลที่เกิดในด้านลบ 10 คะแนน ในกรณีที่เกิดในด้านลบ จะมีแนวทางในการแก้ไขอย่างไร จงอธิบายมา 3 แนวทาง 15 คะแนน

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

LW317 ภาค 1/53

LW317  ภาค 1/53



ข้อ 1 วิธีการจัดตั้งห้าง หุ้นส่วนสามัญ มีหลักเกณฑ์อย่างไร
และเมื่อเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญใครเป็นผู้จดการห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นได้บ้าง
ข้อ 2 ในบริษัทจำกัดมีกรณีใดบ้างที่กฎหมากำหนดให้ลงมติพิเศษ
ข้อ 3 ชนิดของบัญชีที่ ต้องจัดทำ ตามพระราชบัญญัติบัญชี พ.ศ 2543 มีบัญชีไดบ้าง
ข้อ 4 การทำธุระกิจโรงแรมจะขอจดทะเบียนคุ้มครองสิทธิเป็นเครื่องหมายประเภทใด
และจงอธิบายความหมายของเครื่องหมายประเภทนี้

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

ข้อสอบเก่า py103

ข้อสอบกระบวนวิชา PY103 ปรัชญาเบื้องต้น
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
�� คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1. ข้อใดอธิบายความหมาย Philosophy ได้ถูกต้องที่สุด
(1) ต่างศึกษาหาความรู้เพื่อเกิดศรัทธา (2) โด่งศึกษาหาความรู้เพื่อเกียรติยศ
(3) เด่นศึกษาหาความรู้เพื่อความรู้
(4) ดำศึกษาหาความรู้เพื่อความศรัทธา เกียรติยศ และความรู้
ตอบ 3 คำว่า “ปรัชญา” เป็นศัพท์บัญญัติของพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ซึ่งใช้
แปลคำว่า Philosophy ในภาษาอังกฤษ อันหมายถึง ผู้รักความปราดเปรื่อง หรือผู้ปรารถนาจะ
เป็นปราชญ์ หรือผู้ปรารถนาจะฉลาด หรือผู้ที่ยังไม่รู้และปรารถนาจะรู้มากขึ้น หรือความรักใน
ความรู้ อันเป็นความปรารถนาจะรู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้หรือมีความสงสัย
2. ท่าทีทางปรัชญาที่จะช่วยให้เรามีปัญญาเข้าถึงความรู้ความจริงคือข้อใด
(1) เหตุผล (2) ความศรัทธา (3) จินตนาการ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 การที่ปรัชญาช่วยให้มนุษย์มีปัญญาเข้าถึงความรู้หรือความจริงอันสูงสุด เนื่องจากมนุษย์จะไม่
ยอมรับสิ่งใด ๆ โดยง่ายดาย แต่จะเป็นคนช่างสงสัยใคร่รู้ในปัญหาต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา และจะ
ใช้ความสามารถทางด้านเหตุผลในการไตร่ตรองหรือใช้ปัญญาขบคิดเพื่อแสวงหาคำตอบหรือ
ความเชื่อที่เป็นไปได้ในสิ่งที่ตนยังสงสัยรวมทั้งชอบวิพากษ์วิจารณ์ความเชื่อในสิ่งที่ตนยังคิดว่า
เป็นปัญหาอยู่อย่างมีเหตุผล
3. ตัวอย่างข้อใดเป็นคำถามทางปรัชญา
(1) อะตอมประกอบโปรตอน อีเล็กตรอน นิวตรอน
(2) มนุษย์เป็นสิ่งจำกัด จะเข้าถึงสิ่งที่ไม่จำเป็นได้อย่างไร
(3) น้ำประกอบด้วยไฮโดรเจน 2 ส่วน ออกซิเจน 1 ส่วน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ปัญหาปรัชญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ปรัชญาบริสุทธิ์ คือ ปัญหาหรือขอบเขตของปรัชญาที่เป็นเรื่องของปรัชญาโดยเฉพาะไม่
เกี่ยวข้องกับข้อสรุปของวิชาอื่น ๆ เช่น ความเป็นจริงคืออะไร เรารู้ความเป็นจริงได้อย่างไร
เราต้องปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับความเป็นจริง ฯลฯ
2. ปรัชญาประยุกต์ คือ ปัญหาปรัชญาเฉพาะเรื่องที่พาดพิงกับผลสรุปของวิชาอื่น ๆ ที่แยกตัว
ออกจากวิชาปรัชญาแล้ว เช่น ปรัชญาการเมือง ปรัชญาการศึกษา ปรัชญาสังคม ปรัชญา
วิทยาศาสตร์ ฯลฯ
ข้อสอบ PY 103 2
4. ปัญหาปรัชญาที่ว่ามนุษย์สามารถอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยไม่ต้องอ้างเทพเจ้าได้หรือไม่ คือ
ปัญหาของนักปรัชญาท่านใด
(1) ธาเลส (2) เซนต์ ออกัสติน (3) พระพุทธเจ้า (4) ขงจื๊อ
ตอบ 1 ธาเลส เป็นปรัชญากรีกยุคโบราณสมัยเริ่มต้นที่เชื่อว่า มนุษย์สามารถอธิบายปรากฏการณ์
ธรรมชาติต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องอ้างเทพเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ นอกจากนี้เขายังเชื่อว่า
ปรากฏการณ์ธรรมชาติวิวัฒนาการมาจากสารเบื้องต้นหรือปฐมธาตุเดียวกัน คือ น้ำ
5. ปัญหาปรัชญาของโซฟิสต์และโสคราตีสคือข้อใด
(1) วิธีคิดใดเป็นวิธีที่ถูกต้องที่สุดเพื่อความรู้ที่แท้จริงที่สุด
(2) มนุษย์มีความสามารถรู้ความจริงได้หรือไม่
(3) มนุษย์มีความสามารถพิชิตธรรมชาติได้หรือไม่
(4) มนุษย์จะประนีประนอมหลักศรัทธาและหลักเหตุผลได้อย่างไร
ตอบ 2 ปัญหาทางปรัชญาของนักปรัชญากรีกยุคโบราณสมัยรุ่งเรือง คือ ปัญหาเรื่องสมรรถภาพหรือ
ความสามารถของมนุษย์ที่จะรู้ความเป็นจริงได้หรือไม่ ซึ่งนักปรัชญาที่สำคัญในยุคสมัยนี้ ได้แก่
โซฟิสต์ โสคราตีส เพลโต และอริสโตเติล
6. ข้อใดคือลักษณะของการตอบคำถามของนักปรัชญา
(1) ปัญหาเดียวกัน นักปรัชญาคนเดียวกันมีหลายคำตอบ
(2) ปัญหาเดียวกัน นักปรัชญาหลายคนมีคำตอบคำตอบเดียว
(3) ปัญหาเดียวกัน นักปรัชญาหลายคนมีคำตอบต่างกัน
(4) ปัญหาเดียวกัน มีหลายคำตอบ แต่เป็นไปได้คำตอบเดียว
ตอบ 3 ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของปรัชญา ก็คือ แม้แต่คำตอบต่อปัญหาอันเดียวกันนั้นนักปรัชญา
หลายคนก็อาจมีคำตอบที่แตกต่างกัน โดยยังไม่มีการกำหนดหรือยอมรับกันลงไปว่าคำตอบใด
เป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด ซึ่งวิชาปรัชญาถือว่าคำตอบทุกคำตอบเป็นไปได้ทั้งสิ้น
7. ปรัชญากรีกเริ่มต้นจากนักปรัชญาสสารนิยม คือ ธาเลส และพัฒนาไปถึงนักปรัชญาจิตนิยม คือเพลโต
เราสามารถอธิบายปรัชญากรีกได้ว่า
(1) ปรัชญากรีกเริ่มตันตั้งแต่ขั้นหยาบสุด คือความรู้ที่อาศัยอายตนะภายนอกแท้ ๆ ไปจนถึงขั้นที่ใช้
เหตุผลล้วน ๆ
(2) เริ่มต้นมองหาความจริงจากภายนอกแล้วย้อนมองหาความจริงจากภายใน
(3) มนุษย์มีปัญญาเข้าถึงความจริง (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ลักษณะสำคัญของปรัชญากรีก คือ มีความเชื่อที่ว่ามนุษย์มีปัญญาเข้าถึงความจริงโดยจะเริ่มต้น
ตั้งแต่ขั้นหยาบที่สุดที่อาศัยการมองหาความจริง หรือความรู้จากอายตนะภายนอกแท้ๆ ไปจนถึง
การใช้เหตุผลที่เกิดจากปัญญาภายในของมนุษย์
ข้อสอบ PY 103 3
8. ข้อใดอธิบายความหมายอภิปรัชญาได้ถูกต้องที่สุด
(1) โลกที่ปรากฏเป็นจริงหรือไม่ หรือมีความจริงแท้ที่อยู่เบื้องหลัง (2) ความรู้นำไปสู่ความจริง
(3) แบบแห่งการประพฤตินำไปสู่ความจริง (4) การศึกษาปรัชญาหลังปรัชญา
ตอบ 1 อภิปรัชญา เป็นศาสตร์ที่มุ่งศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง “ความเป็นจริงคืออะไร” โดยมุ่ง
ที่จะสืบค้นไปถึงสิ่งที่จริงที่สุด ซึ่งอาจซ่อนอยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ของโลกที่ปรากฏต่อผัสสะ
ของมนุษย์ หรือสิ่งที่อยู่ล่วงเลยขอบเขตของสสาร (อสสาร) ซึ่งแยกออกได้เป็น 3 ปัญหา คือ
1. ปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงของโลก
2. ปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงของจิต
3. ปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงของพระเจ้า
�� ตั่งแต่ข้อ 9. - 10 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) สสารนิยม (2) จิตนิยม (3) ธรรมชาตินิยม (4) ประสบการณ์นิยม
9. คำกล่าวที่ว่า “สิ่งที่มองเห็นไม่ใช่สิ่งจริง สิ่งที่จริงคือสิ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้ แต่รู้หรือเข้าใจได้ด้วย
ใจหรือความคิด” ตัวอย่างข้างต้น จัดเข้าอยู่กลุ่มอภิปรัชญาสำนักใด
ตอบ 2 ลัทธิจิตนิยม เห็นว่า สสาร วัตถุ หรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมทั้งหมดนั้นมีอยู่จริงแต่ยังมีสิ่งที่จริงกว่า
วัตถุและสสารอีกอย่างหนึ่งที่จับต้องไม่ได้ มองเห็นไม่ได้ ไม่มีตัวตนมีอยู่เป็นนิรันดร หรือมี
สภาวะเป็นอมตะ ไร้อายุขับ และไม่อยู่ในระบบของอวกาศและเวลาซึ่งมีลักษณะเป็นอสสาร
(Immaterial) สิ่งนั้นคือ “จิต” เช่น แบบ วิญญาณ พระเจ้า ฯลฯ อันเป็นต้นกำเนิดหรือ
ต้นแบบของวัตถุ ดังนั้นสิ่งที่มนุษย์มองเห็นอยู่บนโลกนี้ จึงเป็นเพียงสภาพที่ปรากฏของสิ่งที่เป็น
จริงเท่านั้น
10. “ฉันเห็นม้าเป็นม้า ฉันไม่ได้เห็นแบบของม้า” ตัวอย่างข้างต้น จัดเข้าอยู่กลุ่มอภิปรัชญาสำนักใด
ตอบ 1 สสารนิยม เชื่อว่าโลกของวัตถุ จักรวาลของสสาร เป็นระบบที่สมบูรณ์ในตัวเองโลกของสสาร
เป็นที่เข้าใจได้โดยไม่ต้องอ้างอิงถึงสิ่งที่อยู่นอกโลกของสสาร เช่น พระผู้เป็นเจ้า หรือแบบของ
เพลโต เป็นต้น
11. เอ็มพิโดเคลสอธิบายการเปลี่ยนแปลงของวัตถุที่เกิดและดับสลายอย่างไร
(1) พระเจ้ากำหนด (2) สวมแบบใหม่
(3) การเปลี่ยนแปลงของอะตอม (4) การรวมตัวและแยกตัวของปฐมธาตุ
ตอบ 4 เอ็มพิโดเคลส เห็นว่า วัตถุต่าง ๆ ที่เห็นนั้น มิได้เป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมดแต่ประกอบด้วยหน่วย
ของความเป็นจริงถึง 4 หน่วยที่แตกต่างกัน ซึ่งมีมาตั้งแต่เดิม ไม่มีเกิด ไม่มีสลาย การเกิดของ
สิ่งหนึ่งเป็นเพียงการเข้าไปรวมกันของปฐมธาตุทั้ง 4 และการดับนั้นก็เป็นเพียงการแยกตัวของ
ปฐมธาตุเท่านั้น
ข้อสอบ PY 103 4
12. ข้อใดคือความหมายของทฤษฎีทอนลง
(1) วัตถุมีอายุสั้นลงทุกปี (2) ปริมาณของวัตถุจะค่อย ๆ ลดลง
(3) จุดกำเนิดของวัตถุไม่สามารถอาจสืบค้นได้ (4) วัตถุสามารถแยกย่อยจนถึงหน่วยสุดท้าย
ตอบ 4 สสารนิยมยอมรับแนวคิดเรื่องการทอนลง โดยเชื่อว่าสิ่ง ๆ หนึ่งสามารถแยกได้เป็นหน่วยย่อย
จนถึงอนุภาคที่เล็กที่สุดที่เรียกว่า อะตอม โดยอะตอมจะไม่มีองค์ประกอบจึงไม่อาจแบ่งย่อยได้
จะสลายก็ไม่ได้ และเกิดขึ้นใหม่ก็ไม่ได้
13. อะตอมในทัศนะของเดโมคริตัสมีคุณสมบัติอย่างไร
(1)อะตอมครอบครองที่ มีรูปร่าง มีน้ำหนัก (2) อะตอมมีสี กลิ่น และรส
(3) อะตอมมีการเกิดใหม่ สูญหาย และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (4) อะตอมเป็นวัตถุที่เล็กที่สุด
ตอบ 1 เดโมคริตัส มีแนวความคิดว่า อะตอมเป็นสสารที่ครอบครองที่ เป็นสิ่งที่มีมาแต่เดิมไม่มีการ
เกิดขึ้นใหม่ และไม่มีการสูญหายหรือเปลี่ยนแปลง โดยอะตอมเหล่านี้มีจำนวนมากมายนับไม่
ถ้วน และเป็นสิ่งที่ปราศจากคุณสมบัติใด ๆ จะมีก็แต่รูปร่างและน้ำหนักเท่านั้น นอกจากนี้
อะตอมยังเป็นหน่วยย่อยที่สุดหรือเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุด
14. ในทัศนะของเดโมคริตัส “ความสวย” คือ
(1) ไม่เที่ยง (2) เป็นคุณค่ามีอยู่จริงเป็นภาวะวิสัย
(2) เป็นคุณค่ามีอยู่จริงเป็นอัตวิสัย (4) สมมติ
ตอบ 4 เดโมคริตัส กล่าวว่า วัตถุแห่งสัมผัสสะทั้งหลายที่เรารู้จัก เช่น ความสวย ความงาม ความดี
ความร้อน รสหวาน รสขม เป็นสิ่งที่เราไปสมมติให้เป็นจริง และเป็นความเคยชินที่เราไป
ยึดถือ แต่ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ อะตอมและช่องว่างเท่านั้นที่เป็นจริง
15. เพราะเหตุใดความคิดทางจิตนิยมจึงจัดเป็นทวินิยม
(1) พระเจ้าหนึ่งเดียวสร้างโลกมา (2) จิตและโลกเกิดจากวิวัฒนาการที่ยาวนาน
(3) โลกเกิดจากอสสาร (4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 3 สาเหตุที่ลัทธิจิตนิยมมีลักษณะเป็นทวินิยม คือ จิตนิยม เชื่อว่า นอกจากสสารหรือวัตถุแล้ว ยังมี
“ของจริง” อีกอย่างหนึ่งที่จับต้องไม่ได้และไม่มีตัวตน ซึ่งมีลักษณะเป็นอสสาร (Immaterial)
เช่น ชาวคริสต์ เชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและเป็นผู้สร้างแบบต่าง ๆ ขึ้นมา ฯลฯ
16. ข้อใดแสดงถึงความคิดลัทธิจิตนิยม
(1) คุณค่าเกิดขึ้นจากมนุษย์
(2) จิตเกิดขึ้นจากวิวัฒนาการอันยาวนานของโลก
(3) จักรวาลมีกฎ มีระเบียบแบบแผน
(4) ความดี ความงามสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมและสังคม
ข้อสอบ PY 103 5
ตอบ 3 ลัทธิจิตนิยม ถือว่า เนื้อแท้ของโลกมิใช่มีเพียงสสารหรือวัตถุเท่านั้น แต่ยังประกอบด้วยอสสาร
หรือจิตที่เป็นหลักสำคัญที่ทำให้โลกของวัตถุมีระเบียบกฏเกณฑ์และไม่เกิดความสับสนอลหม่าน
นอกจากนี้ยังถือว่า คุณค่าทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกของวัตถุหรือโลกของมนุษย์มีต้นตออยู่ที่อสสาร
ด้วย เช่น ความจริง ความดี ความงาม ความยุติธรรม ฯลฯ เป็นคุณค่าที่แท้จริงในตัวเอง มิใช่
สิ่งที่มนุษย์คิดหรือตั้งขึ้นมา ดังนั้นมนุษย์จึงควรค้นหาคุณค่าเหล่านี้ให้พบ
17. เพลโตมีแนวความคิดตามข้อใด
(1) แบบเป็นสิ่งชั่วคราว (2) แบบเป็นสิ่งไม่เปลี่ยนแปลง
(3) มนุษย์คิดค้นเรื่องโลกของแบบ (4) แบบอยู่ภายในโลกนี้
ตอบ 2 เพลโต ได้อธิบายว่า โลกของแบบเท่านั้นที่เป็นจริง เป็นสิ่งเที่ยงแท้ สมบูรณ์ไม่มีการ
เปลี่ยนแปลง และอยู่ล่วงเลยขอบเขตของวัตถุ รวมทั้งยังเป็นต้นแบบของโลกแห่งประสาทสัมผัส
ซึ่งแบบเป็นอสสารที่มองไม่เห็น ไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ และเป็นหลักสำคัญให้โลกวัตถุมีอยู่
ได้ เช่น ล้อรถยนต์ ลูกบอล นาฬิกา ทรงกลม ฯลฯ แม้วัตถุนี้จะมีความแตกต่างกันแต่ก็จำลอง
มาจากแบบเดียวกัน คือ “ความกลม” และมนุษย์รับรู้ด้วยเหตุผล
18. ล้อรถยนต์ ลูกบอล มีความสัมพันธ์กันอย่างไรในทัศนะของเพลโต
(1) มีลักษณะร่วมกันคือวัตถุในโลก
(2) มีลักษณะร่วมกันคือวงกลม
(3) มีลักษณะร่วมกันคือเป็นแบบให้กับวัตถุวงกลม
(4) ไม่มีความสัมพันธ์กันเลย
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ
19. ธรรมชาตินิยมให้ความสำคัญกับสิ่งใด
(1) จิต (2) สสาร
(3) สิ่งอยู่ในอวกาศและเวลา (4) ทฤษฎีการทอนลง
ตอบ 3 ธรรมชาตินิยม เห็นว่า สิ่งธรรมชาติจะต้องมีลักษณะ 2 ประการ คือ
1. เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ในระบบของอวกาศ--เวลา
2. เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและดับลง โดยมีสาเหตุที่เป็นธรรมชาติ
20. เพราะเหตุใดความคิดทางธรรมชาตินิยมจึงจัดเป็นพหุนิยม
(1) พระเจ้าสร้างโลกมีความหมายหลากหลาย (2) จิตและโลกเกิดจากวิวัฒนาการที่ยาวนาน
(3) โลกเกิดจากสสาร (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ธรรมชาตินิยมเป็นพหุนิยมที่เชื่อเรื่องความมากมายหลายหลากว่าในจักรวาลมีสิ่งที่เป็นจริง
ข้อสอบ PY 103 6
มากมายหลายสิ่ง และในกระบวนการวิวัฒนาการของจักรวาลที่ยาวนานนั้นได้มีสิ่งใหม่ ๆ
เกิดขึ้น โดยสิ่งใหม่ ๆ ทีเกิดขึ้นนี้จะมีคุณสมบัติใหม่และมีคุณภาพใหม่ที่ไม่สามารถทอนลงเป็น
อะตอมกับการเคลื่อนไหวของอะตอมได้เลย
21. อเนกมีทัศนะในชีวิตของตนว่า “กิน ดื่ม และใช้ชีวิตให้มีความสุขในโลกนี้” ความคิดของอเนกจัดอยู่ใน
ลัทธิอภิปรัชญาธรรมชาติมนุษย์ในข้อใด
(1) จิตนิยม (2) สสารนิยม
(3) ธรรมชาตินิยม (4) โลกาภิวัตน์นิยม
ตอบ 2 สสารนิยม เชื่อว่า มนุษย์ควรมุ่งแสวงหาสิ่งต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย
ให้ได้รับความสุขสบายมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยสี่ ชื่อเสียง เงินทอง หรืออำนาจ
22. เสรีภาพของมนุษย์เกิดจากเหตุใด
(1) จิต (2) กาย
(3) เป็นกลไกทำงานของสมองและระบบประสาท (4) ผลพวงวิวัฒนาการของจิตและกาย
ตอบ 1 พวกจิตนิยม เชื่อว่า มนุษย์มีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ จิตกับร่างกาย แต่จิตสำคัญกว่าเพราะเป็น
ตัวตนที่แท้จริงและมีสภาวะที่เป็นอมตะ ส่วนร่างกายนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงเกิดดับได้ ดังนั้น
วิถีชีวิตของแต่ละคนย่อมเป็นไปตามการบังคับบัญชาของจิต โดยร่างกายจะเป็นเพียงการ
สนองตอบเจตจำนงของจิตเท่านั้น
23. นายบูรพามีทรัพย์สมบัติมากมาย แต่ต้องการทำประโยชน์เพื่อสาธารณะเพราะต้องการชื่อเสียงเกียรติยศ
นายบูรพาเป็นคนมีจิตภาคใดในทัศนะของเพลโต
(1) ตัณหา (2) น้ำใจ (3) เหตุผล (4) จิตสำนึก
ตอบ 2 จิตในทัศนะของเพลโต แบ่งออกเป็น 3 ภาค ดังนี้
1. ภาคตัณหา คือ ความต้องการความสุขทางกาย โดยจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อแสวงหาเงินมา
สนองความสุขทางโลก จึงเป็นบุคคลที่ลุ่มหลงในโลกียสุข
2 .ภาคน้ำใจ คือ ความรู้สึกทางใจ ได้แก่ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การยึดถือเกียรติและสัจจะเป็น
สำคัญ โดยพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยากทุกเมื่อ
3. ภาคเหตุผลหรือภาคปัญญา เป็นจิตภาคที่พัฒนาขึ้นมาสูงสุดแล้ว คือ มีความใฝ่ในสัจจะโดย
อาจยอมเสียสละทั้งเงินและเกียรติเพื่อแสวงหาความรู้ ความจริง ความดี ความงาม และความ
ยุติธรรม ซึ่งจิตภาคนี้เท่านั้นที่จะทำให้มนุษย์เข้าสู่โลกของแบบได้
24. ข้อใดแสดงธรรมชาติมนุษย์ในทัศนะธรรมชาตินิยม
(1) มนุษย์เป็นสัตว์ (2) มนุษย์เป็นนักบุญ
(3) มนุษย์เป็นมนุษย์ (4) มนุษย์เป็นทั้งสัตว์และเป็นทั้งนักบุญ
ตอบ 4 ตามทฤษีวิวัฒนาการของพวกธรรมชาตินิยม เชื่อว่า มนุษย์เป็นสิ่งใหม่ซึ่งเป็นผลผลิตขั้นสุดยอด
ข้อสอบ PY 103 7
ของวิวัฒนาการ กล่าวคือ มนุษย์จะประกอบด้วยร่างกายและจิตใจซึ่งจิตใจของมนุษย์นี้เองที่ทำ
ให้มนุษย์เหนือกว่าสัตว์ ดังนั้นจึงทำให้มนุษย์มีสภาพที่เป็นทั้งสัตว์ (ในส่วนของร่างกาย) และ
นักบุญ (ในส่วนของจิตใจ) ในสิ่งเดียวกัน
25. ชาวคริสต์เชื่อว่าพระเจ้าทรงส่งบุตรของพระองค์คือพระเยซูคริสต์มายังโลกเพื่อไถ่บาปให้มนุษย์พบทาง
รอดพระเจ้าในศาสนาคริสต์เป็นพระเจ้าแบบใด
(1) Deism พระเจ้าอยู่ในโลกและนอกโลก
(2) Deism พระเจ้าทรงอยู่เหนือโลกเด็ดขาด
(3) Theism เชื่อว่าพระเจ้าทรงอยู่ในโลกและเหนือโลก
(4) Theism เชื่อว่าพระเจ้าทรงอยู่เหนือโลกเด็ดขาด
ตอบ 2 ลัทธิเทวนิยม (Deism) เชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าเป็นมหาเทพที่สูงสุดอยู่เพียงพระองค์เดียวซึ่งอยู่นอก
โลกและทรงอยู่เหนือโลกเด็ดขาด โดยพระองค์สร้างโลกขึ้นมาจากความว่างเปล่า แล้วทรงมอบ
พลังต่าง ๆ ให้แก่โลก และให้พลังเหล่านั้นควบคุมโลกให้ดำเนินไป ส่วนลัทธิสรรพเทวนิยม
(Theism) เชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าเป็นสภาวะทั้งที่อยู่เหนือโลกและอยู่ในโลก แต่อยู่เหนือวิญญาณ
มนุษย์โดยประการทั้งปวง
26. คำกล่าวที่ว่า “เห็นพระเจ้าหรือจักรวาลในเม็ดทราย” จัดอยู่ในความคิดใด
(1) พระเจ้าอยู่ในโลกและอยู่เหนือโลก (2) พระเจ้าอยู่นอกโลก
(3) พระเจ้าทรงอยู่ในโลกและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับโลก (4) พระเจ้าเกิดจากโลก
ตอบ 3 ลัทธิสกลเทพนิยม (Pantheism) เชื่อว่า พระเจ้าทรงอยู่ในโลกและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับโลก
รวมทั้งอยู่ในวิญญาณมนุษย์ เป็นพระเจ้าที่ใกล้ชิดกับมนุษย์และโลกมากที่สุด ดังนั้นพระผู้เป็น
เจ้าก็คือสิ่งทั้งปวงและสิ่งทั้งปวงก็คือพระผู้เป็นเจ้า
27. พระเจ้ามีอยู่จริงเพราะดลใจให้มนุษย์ผู้เป็นสิ่งจำกัดคิดถึงพระเจ้าที่เป็นสิ่งไร้จำกัด ทฤษฎีที่พิสูจน์การมีอยู่
ของพระเจ้านี้คือทฤษฎีใด
(1) ทฤษฎีเชิงเอกภพ (2) ทฤษฎีเชิงวัตถุประสงค์
(3) ทฤษฎีเชิงภววิทยา (4) ทฤษฎีเชิงจริยธรรม
ตอบ 3 ทฤษฎีเชิงภววิทยา ถือว่า พระเจ้าเป็นสิ่งสัมบูรณ์และเป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจำกัด ส่วนมนุษย์เป็น
สิ่งสัมพัทธ์และเป็นสิ่งจำกัด ซึ่งการที่มนุษย์มีความคิดในเรื่องพระเจ้าได้นั้นเกิดจากพระเจ้าเป็น
ต้นเหตุให้มนุษย์คิดถึงสิ่งที่ไร้ขอบเขตนี้ขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นพระผู้เป็นเจ้าจึงมีอยู่
28. ความคิดที่ว่าผู้ปกครองเป็นสมมติเทพมีความหมายเช่นใด
(1) เทพได้คัดเลือกส่งผู้ปกครองมาปกครอง (2) ผู้ปกครองสืบเชื้อสายมาจากเทพ
(3) ตนเป็นเผ่าพันธุ์ที่พระเจ้าเลือกสรร (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ทฤษฎีการอ้างเทวสิทธิ์ (Divine Right) ถือว่า ผู้ปกครองเปรียบเสมือนสมมติเทพที่ได้รับการ
ข้อสอบ PY 103 8
คัดเลือกจากเทพผู้ยิ่งใหญ่ให้มาเป็นผู้ปกครอง หรือผู้ปกครองขอตนสืบเชื้อสายและมีส่วน
เกี่ยวข้องกับเทพที่ชนชาตินั้น ๆ นับถือ ทำให้พลเมืองที่อยู่ในชนชาติเหล่านี้ มักเชื่อว่าตนเป็น
เผ่าพันธุ์ที่พระเจ้าเลือกสรรจึงเป็นประเทศที่สูงส่งกว่าชนชาติอื่น ๆ
29. ปัญหาปรัชญาของปรัชญาเชน ปรัชญาฮินดู และพุทธปรัชญา คืออะไร
(1) มนุษย์จะดำเนินชีวิตสอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติและสังคมได้อย่างไร
(2) มนุษย์จะมีสภาพอมตะได้อย่างไร
(3) มนุษย์จะหลุดพ้นจากทุกข์ได้อย่างไร
(4) มนุษย์จะรู้ได้อย่างไรว่าเนื้อแท้ของโลกเป็นจิตหรือสสาร
ตอบ 3 ปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อของปรัชญาอินเดีย (ปรัชญาเชน ปรัชญาฮินดู และพุทธปรัชญา)
คือ มนุษย์จะหลุดพ้นจากทุกข์ได้อย่างไร โดยลักษณะร่วมของปรัชญาเหล่านี้ คือ เชื่อในกฎ
แห่งกรรม ถือว่าสภาพของมนุษย์นั้นเป็นผลของกรรมเก่าที่มนุษย์ได้กระทำลงไปในอดีต ดังนั้นผู้
ที่ต้องการจะหลุดพ้นจากความทุกข์ในชีวิตและการเวียนวายตายเกิด จึงต้องพยายามปฏิบัติตนและ
มุ่งแสวงหาความจริงอันเป็นที่สุดของชีวิต
30. ปรัชญากลุ่มใดที่ไม่ยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ของพระเวท
(1) โยคะ (2) จารวาก (3) เวทานตะ (4) ไวเศษิกะ
ตอบ 2 ลัทธิที่เป็นปรัชญาหรืออภิปรัชญาอินเดีย มี 2 สาย ดังนี้
1. สายอาสติกะ คือ กลุ่มอภิปรัชญาที่ยอมรับนับถือความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของคุมภีร์พระ
เวท ได้แก่ ปรัชญาฮินดู คือ ปรัชญานยายะ ไวเศษิกะ สาวขยะ โยคะ มีมางสา และ
เวทานตะ
2. สายนาสติกะ คือ กลุ่มอภิปรัชญาที่ไม่ยอมรับนับถือความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์
พระเวท ได้แก่ ปรัชญาจารวาก พุทธปรัชญา และปรัชญาเชน
3.
31. ปรมาณูตามทัศนะของไวเศษิกะคือข้อใด
(1) น้ำ (2) อากาศ (3) ดิน น้ำ ลม ไฟ (4) จิต
ตอบ 3 ปรัชญาไวเศษิกะ ถือว่า ปรมาณูซึ่งเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสิ่งต่าง ๆ มีอยู่ 4 ชนิด คือ ดิน น้ำ
ลม ไฟ โดยปรมาณูของลม เป็นปรมาณูที่ละเอียดอ่อนที่สุด รองลงมาตามลำดับก็คือ ปรมาณู
ของไฟ ปรมาณูของน้ำ และปรมาณูของดิน
32. ข้อใดไม่ใช่คำอธิบายคุณสมบัติปรมาณูของลัทธิไวเศษิกะ
(1) โลกเกิดจากปรมาณู (2) เป็นการรวมตัวและการสลายตัวโดยตัวมันเอง
(3) มีขนาด สี เสียง กลิ่น รส ที่แตกต่างกัน (4) สัมผัสได้และไม่ได้
ตอบ 2 ปรัชญาไวเศษิกะ เชื่อว่าปรมาณูมีทั้งคุณสมบัติปฐมภูมิ (รูปร่าง ขนาด น้ำหนัก) และคุณสมบัติ
ข้อสอบ PY 103 9
ทุติยภูมิ (สี เสียง กลิ่น รส สัมผัส) ซึ่งแต่ละปรมาณูจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน แต่โดย
ธรรมชาติแล้วปรมาณูเป็นสิ่งไร้กัมมันตภาพและไร้จลนภาพ (เคลื่อนไหวไม่ได้ด้วยตนเอง) จึงอยู่
ในภาวะที่หยุดนิ่งตลอดเวลา ทั้งนี้การรวมตัวและการสลายของปรมาณูเกิดจากการกระทำของ
อำนาจที่มองไม่เห็น โดยมีเจตจำนงของพระเจ้าเป็นสิ่งผลักดันและชักจูง
33. ข้อใดคือคุณสมบัติของพรหม
(1) พรหมดำรงอยู่ในกาลและอวกาศ (2) พรหมสามารถรู้ได้ด้วยเหตุผล
(3) พรหมดำรงอยู่ด้วยตนเอง (4) พระเจ้าสร้างพรหม
ตอบ 3 พรหมันหรือพรหมเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่เหนือผู้รู้ สิ่งที่ถูกรู้ และผู้รู้ พรหมันเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง เป็น
สิ่งสมบูรณ์แท้จริงสิ่งเดียว ดำรงอยู่เหนือกาลและอวกาศ เป็นเบื้องต้นที่ก่อให้เกิดสรรพสิ่งต่าง ๆ
และเป็นที่สิ้นสุดของสรรพสิ่ง ไม่มีเบื้องต้น และไม่มีที่สิ้นสุด แต่ดำรงอยู่ได้ด้วยสภาวะของ
ตนเอง และไม่สามารถรู้ได้ด้วยการอธิบายเชิงยืนยันเป็นภาษาหรือคำพูด แต่สามารถบรรยาย
ลักษณะของพรหมันได้ด้วยการใช้ถ้อยคำปฏิเสธ
34. ความคิดปรัชญาจีนคือข้อใด
(1) มุ่งเน้นปัญหาอภิปรัชญาเพื่อเข้าใจชีวิต
(2) มุ่งเน้นความรู้เพื่อการปกครอง
(3) มุ่งเน้นความประพฤติของมนุษย์เพื่อความหลุดพ้น
(4) มุ่งเน้นความประพฤติของมนุษย์เพื่อความกลมกลืนธรรมชาติและสังคม
ตอบ 1 อภิปรัชญาจีนจะมุ่งเน้นปัญหาอภิปรัชญาที่ให้มนุษย์รู้จักปฏิบัติตนเพื่อเข้าถึงและรู้จักสิ่งสมบูรณ์
แห่งเอกภพหรือที่เรียกว่า เต๋า ซึ่งเต่านี้ก็คือ ธรรมชาติสิ่งหนึ่งที่จะมีสภาพเป็นอมตะ ไม่มี
เบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด โดยสรรพสิ่งทั้งหลายจะเกิดขึ้นและดับลงในเต๋านี้
35. ข้อใดคือคำอธิบายความหมายหยินและหยางที่ถูกต้อง
(1) หยางและหยินคือสสารบวกและลบ (2) สรรพสิ่งให้กำเนิดหยินและหยาง
(3) หยินและหยางคือพลังที่ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดจบ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 อภิปรัชญาจีน เชื่อว่า หยางเป็นพลังทางบวก และหยินเป็นพลังทางลบโดยมูลธาตุทั้ง 2 เป็น
สภาวะอันมีอยู่ประจำในจักรวาล เป็นระเบียบของจักรวาล และเป็นสภาวะของสรรพสิ่งใน
จักรวาล ทั้งหยางและหยินต่างก็สัมพันธ์กันในลักษณะสามัคคีซึ่งเท่ากับเป็นปฐมธาตุคู่บวกคู่ลบ
ของโลก
36. ข้อใดอธิบายเต๋าได้ถูกต้องที่สุด
(1) เต๋ามีอยู่ในคนดีเท่านั้น (2) เต๋าคือธรรมชาติ
(3) เต๋าคือสิ่งเหนือธรรมชาติ (4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 34. ประกอบ
ข้อสอบ PY 103 10
37. น้ำชาล้นถ้วย ข้อตัวอย่างนี้อธิบายเรื่องความรู้ในปรัชญาเต๋าอย่างไร
(1) ความรู้ทำให้รู้จักเต๋า (2) ความรู้ทำให้หลงลืมเต๋า
(3) ความรู้ทำให้ไม่รู้จักตนเอง 4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 เล้าจื้อ อธิบายว่า ความรู้ในเต๋าจะสามารถหาได้ภายในตนเองเท่านั้น ส่วนความรู้ทางโลก อัน
เป็นความรู้ภายนอกไม่ใช่ความรู้ที่สมบูรณ์ที่จะช่วยตนให้บรรลุเต๋าได้ ดังนั้นมนุษย์ทุกคนซึ่งมีเต๋า
อยู่ในตนเองอยู่แล้ว แต่ถูกความเขลาบังอยู่ หากสามารถกำจัดความเขลานั้นได้ ตนก็จะเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกับเต๋า
38. เต๋าเป็นเหตุให้เกิดหนึ่ง หนึ่งเป็นเหตุให้เกิดสอง สองเป็นเหตุให้เกิดสาม และสามเป็นเหตุให้เกิดสรรพสิ่ง
มีความหมายอย่างไร
(1) สรรพสิ่งเกิดจากเหตุ (2) เต๋าเป็นปฐมธาตุของทุกสิ่ง
(3) เต๋าอยู่นอกโลก (4) เต๋าอยู่ในโลกและนอกโลก
ตอบ 2 เต๋าเป็นสิ่งสมบูรณ์และเป็นอมตะ ดำรงอยู่ตลอดกาล ไม่มีเหตุปัจจัยอะไรมาปรุงแต่งมันได้ แต่
เต๋าก็ไม่อยู่นิ่ง ๆ เพราะมันได้สร้างสรรค์ให้เกิดจักรภพชีวิตขึ้นมา ดั่งตำราเต๋าเตกเก็งบทที่ 42
ที่ว่า “เต๋าเป็นเหตุให้เกิดหนึ่ง หนึ่งเป็นเหตุให้เกิดสอง สองเป็นเหตุให้เกิดสามและสามเป็นเหตุ
ให้เกิดสรรพสิ่ง” ซึ่งหมายความว่า เต๋าเป็นปฐมธาตุของทุกสิ่ง
39. ในท่าทีของพุทธปรัชญาเถรวาท เมื่อเราพบคนถูกแทง เราจะทำอย่างไรกับคนเจ็บ
(1) ตามหาผู้ร้าย (2) ตรวจดูอาวุธว่าทำจากวัสดุอะไร
(3) รีบพาผู้บาดเจ็บไปหาหมอ (4) อ่านตำราเพื่อช่วยคนเจ็บ
ตอบ 3 หลักคำสอนของพุทธปรัชญาเถรวาท จะมุ่งเน้นการหาหนทางในการดับทุกข์และพบความสงบ
ทางจิตใจ โดยยึดหลักอริยสัจ 4 หรือของจริงอย่างประเสริฐที่ผ่านการพิสูจน์ทางเหตุและผลโดย
ลำดับ ซึ่งประกอบด้วย 1. ทุกข์ 2. สมุทัย 3. นิโรธ 4. มรรค ดังนั้นหากผู้ใดพบเห็นผู้ที่
ประสบปัญหาเกี่ยวกับความทุกข์ไม่ว่าจะด้านใด ก็ควรให้ความช่วยเหลือโดยตรงจากต้นตอที่ทำ
ให้เกิดทุกข์นั้น
40. ข้อใดอธิบายหลักการอริยสัจสี่ได้ถูกต้องที่สุด
(1) อริยสัจสี่คือความจริงที่หลีกเลี่ยงการสุดโต่งทั้งสองทาง
(2) อริยสัจสี่คือความจริงผ่านการพิสูจน์ทางเหตุผล
(3) อริยสัจสี่คือความจริงเหนือเหตุผล
(4) อริยสัจสี่คือทางสายกลางเพื่อประนีประนอมทางสุดโต่งทั้งสองทาง
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 39. ประกอบ
ข้อสอบ PY 103 11
41. ตามหลักพุทธศาสนาความทุกข์เกิดจาก
(1) สังคมและสิ่งแวดล้อม (2) ความยากจน
(3) ความอยากมี อยากเป็น (4) ความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง
ตอบ 3 ตามหลักพุทธศาสนานั้น สิ่งที่ทำให้มนุษย์เกิดความทุกข์ (สมุทัย) คือ ตัณหา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3
ประเภท ได้แก่
1. กามตัณหา คือ ความอยากในกามคุณ
2. ภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น
3. วิภวตัณหา คือ ความอยากไม่มี อยากไม่เป็น ดังที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่
42. “ฉันไม่อยากมีตีนกาเลย” จัดว่าเป็นตัณหาแบบไหน
(1) กามตัณหา (2) ภวตัณหา (3) วิภวตัณหา (4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ
43. ความคิดใดที่จัดเป็นสัมมาทิฐิ
(1) ทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี (2) วิธีการทุกวิธีการถูกนำมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมาย
(3) บุญ บาปมีจริง (4) โลกหน้าไม่มีอยู่จริง
ตอบ 3 สัมมาทิฐิ (ปัญญาอันเห็นชอบ) เป็นข้อปฏิบัติในส่วนของการอบรม ความเห็นที่เรียกว่า ปัญญา
ซึ่งหมายถึง การใช้ปัญญาพิจารณาถึงความจริงในอริยสัจ 4 เพื่อให้ทราบถึงเหตุผลของทุกข์และ
เหตุผลของการดับทุกข์ เช่น ความเห็นชอบเรื่องบุญ-บาปมีจริง เพราะเป็นเครื่องเตือนสติให้
มนุษย์รู้จักยับยั้งชั่งใจหากจะทำความผิดใด ๆ เป็นต้น
44. ข้อปฏิบัติที่อบรมกายกับวาจา เรียกว่า
(1) ศีล (2) สมาธิ (3) ปัญญา (4) ทิฐิ
ตอบ 1 มรรค 8 คือ ทางสายกลางซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
ดังนี้ คือ
1. ส่วนที่อบรมกายกับวาจา เรียกว่า “ศีล” ประกอบด้วย สัมมาวาจา สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ
2. ส่วนที่อบรมจิต เรียกว่า “สมาธิ” ประกอบด้วย สัมมาวายามะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
และสัมมาสมาธิ
3. ส่วนที่อบรมทิฐิและความเห็น เรียกว่า “ปัญญา” ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ และสัมมา
สังกัปปะ
45. อาชีพใดที่จัดเป็นสัมมาอาชีวะในทางพุทธศาสนา
(1) อาชีพออกหวยทั้งใต้ดินและบนดิน (2) นักโฆษณา ๆ สินค้ามอมเมาประชาชน
(3) อาชีพบริการเงินด่วน (4) ผิดทุกข้อ
ข้อสอบ PY 103 12
ตอบ 4 สัมมาอาชีวะเป็นธรรมข้อหนึ่งในมรรค 8 ซึ่งหมายถึง การเลี้ยงชีวิตด้วยการประกอบสัมมาชีพ
ที่สุจริต ละมิจฉาชีพทั้งปวง ไม่ประกอบอาชีพที่เป็นภัยหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้ง
ต้องไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นด้วย
46. ข้อใดเป็นความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงในทัศนะของเหตุผลนิยม
(1) ไม้ย่อมจะลอยน้ำได้ (2) เส้นขนานย่อมไม่บรรจบกัน
(3) อากาศจะหนาวเย็นในเดือนธันวาคม-มกราคม (4) ฝนจะตกชุกในเดือนกันยายน-ตุลาคม
ตอบ 2 ลัทธิเหตุผลนิยม เชื่อว่า มนุษย์มีความสามารถที่จะรู้ความจริงทั้งหลายในจักรวาลได้โดยไม่ต้องมี
ประสบการณ์มายืนยันหรือที่เรียกว่า “ความรู้ก่อนประสบการณ์” (A Priori Knowledge) ซึ่ง
เป็นความจริงที่จำต้องเป็น (The Necessary Truth) หรือความจริงที่แน่นอนตายตัว และ
สามารถรู้ได้โดยใช้ “อัชฌัตติกญาณ” คือการหยั่งรู้โดยตรงด้วยจิตใจ หรือแสงสว่างแห่งเหตุผล
อันเป็นความรู้ที่เกิดจากการคิดได้ด้วยตนเอง เช่น เส้นขนานย่อมไม่มีวันมาบรรจบกัน, สิ่งหนึ่ง
ไม่อาจจะอยู่ในสถานที่สองแห่งในเวลาเดียวกันได้, สิ่งที่เท่ากันหักออกด้วยจำนวนที่เท่ากันย่อมมี
ส่วนเหลือที่เท่ากัน ฯลฯ
47. มนุษย์จะรู้ในความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงได้ด้วยสิ่งใดในทัศนะของเหตุผลนิยม
(1) ประสาทสัมผัส (2) การรวบรวมข้อมูล
(3) การทดลอง (4) การหยั่งรู้ด้วยจิตหรือปัญญา
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ
48. วิธีการหาเหตุผลแบบใดที่พวกเหตุผลนิยมเชื่อถือมากที่สุด
(1) อุปนัย (2) นิรนัย
(3) การอ้างเหตุผลเปรียบเทียบ (4) วิธีอนุมาน
ตอบ 2 เหตุผลนิยมจะยอมรับวิธีการคิดหาเหตุผลแบบนิรนัย (Deduction) คือ การพิสูจน์ความเชื่อใด
ๆ โดยอาศัยความจริงพื้นฐานที่มีอยู่ก่อนหรือที่ยอมรับกันโดยทั่วไปเป็นหลัก แล้วก็ใช้ความคิด
สืบสาวจากความรู้นั้นไปเพื่อที่จะรู้ในสิ่งอื่น โดยข้อสรุปต้องได้มาจากข้ออ้างที่เป็นลักษณะสากล
ถ้าข้ออ้างเป็นจริง ข้อสรุปก็ต้องเป็นจริงด้วย ซึ่งข้อสรุปที่ได้จะเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละ
เหตุการณ์ เช่น วิธีคิดตามหลักคณิตศาสตร์ เรขาคณิตและพีชคณิต
49. ลัทธิเหตุผลนิยมเห็นด้วยกับความหมายของการรู้โดย “อัชฌัตติกญาณ” ในข้อใด
(1) การรู้โดยตรงด้วยประสาทสัมผัส (2) การรู้จากการคาดเดา
(3) การรู้โดยพระเจ้าบันดาลให้ (4) การรู้โดยตรงด้วยการหยั่งรู้ของจิต
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ
ข้อสอบ PY 103 13
50. ลัทธิประจักษนิยมเห็นด้วยกับความหมายของการรู้โดย “อัชฌัตติกญาณ” ในข้อใด
(1) การรู้โดยตรงด้วยประสาทสัมผัส (2) การรู้จากการคาดเดา
(3) การรู้โดยพระเจ้าบันดาลให้ (4) การรู้โดยตรงด้วยการหยั่งรู้ของจิต
ตอบ 1 การรู้โดยอัชฌัตติกญาณของพวกประจักษนิยม หมายถึง การมีความรู้ความเข้าใจโดยตรงใน
ความจริงที่ง่าย ๆ ธรรมดา ๆ ที่สุดของประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส เช่น สิ่งที่ฉันมองเห็น
ในขณะนี้มีสีแดง มือได้สัมผัสความเย็นของน้ำแข็ง สิ้นได้ลิ้มรสเค็มของเกลือ เป็นต้น
51. วิธีหาเหตุแบบนิรนัย เริ่มต้นจากสิ่งใด
(1) ความจริงทั่วไปที่แน่ใจแล้ว (2) ข้อมูลหลาย ๆ หน่วยที่มีลักษณะเหมือนกัน
(3) ความจริงเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (4) สมมติฐาน
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 48. ประกอบ
52. ในทัศนของเดการ์ต สิ่งใดเป็นข้อยืนยันความแท้จริงของตัวมนุษย์
(1) การมีร่างกาย (2) การมีความรู้สึก
(3) การมีจิตเป็นตัวคิด (4) การมีความสงสัย
ตอบ 3 เดการ์ต (Descartes) เป็นนักปรัชญาแนวเหตุผลนิยมที่เริ่มต้นด้วยการสงสัยในทุก ๆ สิ่ง
กล่าวคือ ไม่เชื่อในสิ่งใด เพราะบางสิ่งที่เราเชื่อว่าจริงก็อาจจะไม่จริงก็ได้ บ่อยครั้งที่
ประสบการณ์หลอกเรา ทำให้เราเข้าใจผิด ดังนั้นเราจึงควรสงสัยในทุกสิ่งก่อนว่ามันไม่จริงจนใน
ที่สุดก็มีสิ่งหนึ่งที่เราสงสัยไม่ได้ ตังข้อความที่ว่า “ฉันคิด ดังนั้นฉันจึงมีอยู่” ซึ่งเป็นการยืนยัน
ว่ามีจิตหรือสิ่งแท้จริงที่ที่รู้คิดได้ (Thinking Substance)
53. วิธีการใดที่เดการ์ตชื่นชมและนำมาใช้กับปรัชญา
(1) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (2) วิธีอุปนัย
(3) วิธีทางสถิติ (4) วิธีการเรขาคณิต
ตอบ 4 เดการ์ต เป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ซึ่งได้ฟื้นฟูแนวคิดเหตุผลนิยมขึ้นมาอย่างจริงจังในศตวรรษ
ที่ 17 และจากการที่เขาเป็นนักคณิตศาสตร์ เขาจึงพยายามที่จะทำความรู้ของคนเราให้เป็นระบบ
ชัดเจนในรูปแบบเรขาคณิต นั่นคือ เขาได้นำวิธีการของเรขาคณิตมาใช้ในความคิดทางปรัชญา
ของเขาด้วย
54. พวกเหตุผลนิยมจะเห็นด้วยกับข้อใดน้อยที่สุด
(1) ประสาทสัมผัสเป็นตัวสร้างความรู้
(2) ประสาทสัมผัสเป็นตัวจุดประกายให้ปัญญาทำการรู้
(3) ความรู้แท้จริงแน่นอน ไม่อาจได้จากประสาทสัมผัส (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 พวกเหตุผลนิยม เห็นว่า ความรู้ที่แท้จริงแน่นอนจะไม่ได้มาจากการใช้ประสาทสัมผัส แต่จะต้อง
ข้อสอบ PY 103 14
ได้มาจากความคิดหรือการใช้เหตุผลไตร่ตรอง โดยยอมรับว่าประสบการณ์ทางผัสสะเป็น
จุดเริ่มต้นของความรู้หรือเป็นสิ่งที่มาจุดประกายให้สติปัญญาเริ่มทำงานเท่านั้น
55. ข้อสรุปของวิธีหาเหตุผลแบบอุปนัยต้องได้จากสิ่งใด
(1) ความจริงทั่วไปที่แน่ใจก่อนแล้ว (2) ข้อมูลหลาย ๆ หน่วยที่มีอะไรบางอย่างตรงกัน
(3) ความรู้ก่อนประสบการณ์ (4) ความจริงทั่วไปที่รวบรวมจากความจริงเฉพาะหน่วย
ตอบ 4 ประสบการณ์นิยมหรือประจักษนิยมจะยอมรับวิธีการคิดหาเหตุผลแบบอุปนัย (Induction) ซึ่ง
เป็นวิธีการที่เราต้องอาศัยข้อมูลที่ได้รับมาจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสอันเป็นเรื่องของ
กรณีเฉพาะ แล้วจึงสรุปขึ้นเป็นความจริงทั่วไป ดังนั้นวิธีอุปนัยเป็นการที่เราขยายความจริงของ
สิ่งบางสิ่งไปสู่ทุกสิ่ง เช่น อีกาหลาย ๆ ตัวมีสีดำ ดังนั้นอีกาทุกตัวจึงมีสีดำ เป็นต้น
56. ข้อใดเป็นความรู้โดยอัชฌัตติกญาณในทัศนะของพวกประจักษนิยม
(1) จิตหยั่งรู้ว่าสิ่ง ๆ หนึ่งจะอยู่ในที่ 2 แห่งพร้อมกันไม่ได้ (2) รู้ด้วยเหตุผลว่าสิ่งที่เกิดขึ้นย่อมมีสาเหตุ
(3) รู้ด้วยปัญญาว่าสองบวกสองได้สี่ (4) รู้ว่าเกลือเค็มเพราะลิ้นได้ลิ้มรส
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 50. ประกอบ
57. เมื่อมือกระทบกับวัตถุร้อนเกิดความรู้สึกร้อน นี้เป็นความรู้ขั้นใดตามทฤษฎีความรู้ของล็อค
(1) ขั้นภาพสะท้อน (2) ขั้นผัสสะ
(3) ขั้นการใช้เหตุผล (4) ขั้นจินตนาการ
ตอบ 2 ในทัศนะของล็อคนั้นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ มี 2 ขั้นคือ
1. ผัสสะ (Sensation) ซึ่งเป็นการรับรู้ทางอวัยวะรับสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และ
กาย เช่น เมื่อมีวัตถุร้อนมากระทบผิว ก็จะเกิดความรู้สึกร้อน เป็นต้น
2. ภาพสะท้อน (Reflection) ซึ่งเป็นการคิดและจัดการกับสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามาภายในจิต เช่น
เมื่อเห็นวัตถุที่ร้อน จิตจะรู้จักวัตถุนั้นว่ามีอุณหภูมิสูง เป็นต้น
58. สิ่งใดเป็นความรู้ขั้นความคิดเชิงซ้อนในทัศนะของล็อค
(1) สีเขียวของผลมะนาว (2) รสเปรี้ยวของผลมะนาว
(3) ลักษณะกลม (4) ตัวผลมะนาว
ตอบ 4 ความคิดเชิงซ้อน คือ ความคิดเชิงเดี่ยวหลาย ๆ อย่างที่จิตได้รวบรวม เชื่อมโยงและเปรียบเทียบ
เข้าด้วยกัน จนกลายเป็นสิ่งที่รับรู้ขึ้นมา เช่น จิตเชื่อมโยงความคิดเชิงเดี่ยวของเขียว รสเปรี้ยว
และลักษณะกลมเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นความคิดเชิงซ้อนของตัวผลมะนาวขึ้น
59. ข้อใดเป็นความรู้ในขั้นความคิดเชิงเดี่ยวในทัศนะของล็อค
(1) ดอกกุหลาบสีแดงกลิ่นหอม (2) ใบของดอกกุหลาบ
(3) สีแดงของดอกกุหลาบ (4) หนามของดอกกุหลาบ
ข้อสอบ PY 103 15
ตอบ 3 ความคิดเชิงเดี่ยว คือ ความคิดที่ไม่ซับซ้อน ไม่ประกอบด้วยสิ่งใดและต้องรู้ด้วยตัวเองโดยไม่
อาจจะอธิบายด้วยคำพูดใด ๆ ได้ ซึ่งเมื่อวัตถุต่าง ๆ กระทบอวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆ ของเราก็จะ
เกิดผัสสะ เช่น สีแดง กลิ่นหอม ร้อน เย็น ฯลฯ เข้ามาในจิต และหากเข้ามากระทบบ่อยขึ้น
จิตก็จะทำการไตร่ตรองแล้วจดจำและสร้างเป็นความคิดเชิงเดี่ยวของผัสสะนั้น ๆ เช่น สีแดงของ
ดอกกุหลาบ กลิ่นหอมของดอกมะลิ เป็นต้น
60. เวลาที่มนุษย์ทำการรับรู้วัตถุ ล็อคคิดว่าสิ่งที่มนุษย์รู้คืออะไร
(1) วัตถุจริงที่มีคุณสมบัติทุกประเภท (2) ตัวแทนของวัตถุจริง
(3) ความคิดของจิต (4) วัตถุจริงที่มีแต่คุณสมบัติชั้นหนึ่ง
ตอบ 2 ล็อค มีความคิดว่า คุณสมบัติปฐมภูมิมีอยู่ในตัววัตถุจริง เช่น รูปราง ขนาด น้ำหนัก การ
เคลื่อนที่ ฯลฯ ส่วนคุณสมบัติทุติภูมิจะไม่มีอยู่จริง เช่น สี กลิ่น รส เสียง อุณหภูมิ แต่วัตถุใน
การรับรู้ของเรามีคุณสมบัติทุติยภูมิด้วย ดังนั้นวัตถุจริงกับวัตถุในฐานะที่เรารับรู้นั้นจะเป็นคนละ
สิ่งกัน วัตถุที่เรารับรู้จึงถือว่าเป็นตัวแทนของวัตถุจริง
61. เบอร์เลย์คิดอย่างไรเกี่ยวกับโลกวัตถุ
(1) ถูกรู้ด้วยจิต (2) คือภาพสะท้อนของจิตมนุษย์
(3) เป็นอิสระจากจิตไม่ได้ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 เบอร์คเลย์ เป็นนักปรัชญาลัทธิจิตนิยมแบบอัตนัยที่มีทัศนะว่าวัตถุทั้งหลายพร้อมทั้งคุณสมบัติทุก
อย่าง ไม่ว่าจะเป็นปฐมภูมิและทุติยภูมิล้วนขึ้นอยู่กับการรับรู้ของจิตทั้งสิ้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ
วัตถุทั้งหลายหรือโลกภายนอกเป็นเพียงภาพสะท้อนของจิตมนุษย์ โดยสิ่งต่าง ๆ ที่เราเห็นหรือรู้
นั้นก็คือความคิดของจิตเรานั่นเองเพราะว่าสิ่งที่เรารู้หรือความรู้ของเรา ได้แก่ วัตถุและสิ่ง
ทั้งหลายภายในโลก สิ่งเหล่านี้มีแก่นแท้คือ การถูกรับรู้ด้วยจิตของมนุษย์ ดังนั้นการมีอยู่ของมัน
จึงเป็นอิสระจากจิตไม่ได้
62. “ฉันมองเห็นน้ำทะเลสีเขียวมรกต” สิ่งที่ผู้พูดเห็นคืออะไรในทัศนะของเบอร์คเลย์
(1) สสารที่มีเพียงคุณสมบัติปฐมภูมิ (2) ความคิดของจิตมนุษย์
(3) สสารที่มีความแท้จริงเป็นอะตอม (4) จินตนาการของผู้พูด
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ
63. สัจนิยมโดยตรงถือว่าเวลาที่คนเรารับรู้ต้นไม้ จิตทำการสิ่งใด
(1) เพิ่มเติมสี (2) เพิ่มเติมจำนวน
(3) รับรู้ลักษณะที่เป็นจริงของต้นไม้ (4) ตัดสินว่าคือต้นไม้
ตอบ 3 สัจนิยมแบบโดยตรงมีทัศนะว่า การรับรู้หรือการประจักษ์เป็นการรู้จักโดยตรง คือ เป็นการ
ข้อสอบ PY 103 16
เผชิญหน้ากันอย่างตรงไปตรงมากับวัตถุภายนอก ซึ่งการรับรู้ของคนมิได้มีการเพิ่มเติมหรือ
ลดทอนคุณสมบัติอะไรบางอย่างให้กับวัตถุเลย วัตถุมีธรรมชาติหรือมีลักษณะที่แท้จริงอย่างไร
เมื่อมาปรากฏต่อจิตของคนก็คงเป็นอย่างนั้น
64. “น้ำทะเลสีฟ้าสวยเหลือเกิน” สิ่งที่ผู้มองเห็นคืออะไรในทัศนะของสัจนิยมโดยอ้อม
(1) ข้อมูลทางผัสสะ (2) น้ำทะเลซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ
(3) ความคิดของจิต (4) น้ำทะเลซึ่งในความเป็นจริงไม่มีสี
ตอบ 1 หลักการทั่วไปของสัจนิยมโดยอ้อม คือ จะมีการแบ่งออกเป็นวัตถุภายนอกในฐานะที่เป็นตัว
สาเหตุของการรับรู้และเป็นวัตถุของการรับรู้กับข้อมูลทางผัสสะซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางจิตของ
กระบวนการของสมอง โดยขึ้นอยู่กับการกระทำของวัตถุภายนอกต่ออวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆ
65. ลัทธิสัจนิยมเห็นด้วยกับข้อใด
(1) โลกคือภาพสะท้อนของจิตมนุษย์
(2) ความเป็นจริงมีจิตพระเจ้า จิตมนุษย์และความคิดของจิต
(3) วัตถุไม่มีความแท้จริงในตัวมัน
(4) วัตถุเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ
ตอบ 4 ลัทธิสัจนิยมทุกแบบ มีความเชื่อร่วมกันว่า วัตถุทั้งหลายมีความแท้จริงตามสภาพของมันโดย
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าจะมีมนุษย์รับรู้มันหรือไม่ เพราะมันมีอยู่ก่อนที่จะมีผู้ใดมารับรู้ถึงแม้ว่าคนเรา
จะรู้จักวัตถุโดยทางประสาทสัมผัส แต่จะกล่าวว่ามันเป็นเพียงผัสสะหรือความคิดของจิตไม่ได้
ดังนั้นสิ่งที่เรารู้จักก็คือวัตถุทั้งหลายที่มีตัวตนอยู่นั่นเอง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การมีผัสสะต่อวัตถุ
เป็นคนละเรื่องกับการมีอยู่ของวัตถุ
66. กลุ่มสุขนิยม ปรารถนาความสุขอย่างไร
(1) แสวงหาความสงบ เช่นเดียวกับนักบวช (2) การมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ธรรมดาสามัญ
(3) แสวงหาผลประโยชน์ ชื่อเสียง อำนาจ (4) แสวงหาความสุขในวันนี้ให้มากที่สุด
ตอบ 4 สุขนิยม เห็นว่า ในขณะที่มีชีวิตอยู่เราพยายามหลีกหนีความทุกข์ และพยายามแสวงหาความสุข
ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะไม่มีวิญญาณที่ต้องไปเกิดใหม่ในชาติหน้าไม่มีนรกหรือ
สวรรค์ให้เราได้ชดใช้กรรม ดังนั้นเราจึงควรแสวงหาความสุขในวันนี้ มิใช่คิดถึงวันพรุ่งนี้
67. เพราะเหตุใดสุขนิยมจึงยกย่องวิทยาศาสตร์
(1) เพราะเป็นศาสตร์ที่ดีที่สุด (2) เพราะเป็นศาสตร์ที่ทำให้เข้าถึงความจริงดีที่สุด
(3) เพราะเป็นศาสตร์ที่มนุษย์ควรศึกษา (4) เพราะเป็นศาสตร์ที่ทำให้มนุษย์สะดวกสบายขึ้น
ตอบ 4 สุขนิยม เป็นลัทธิที่ถือว่าความสุขและความเพลิดเพลินเป็นมาตรฐานอันสูงสุดของชีวิตทาง
ศีลธรรม โดยความสุขเป็นความดีและเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต ทั้งนี้นักสุขนิยมจะให้การยก
ข้อสอบ PY 103 17
ย่องวิชาวิทยาศาสตร์ เพราะเป็นศาสตร์ที่จะช่วยพัฒนาเทคโนโลยีให้เจริญก้าวหน้าเพื่ออำนวย
ความสุขและความสะดวกสบายให้แก่ชีวิตมนุษย์มากขึ้น
68. นักศึกษาสามารถเรียนรู้วิถีชีวิตตามแนวคิดสุขนิยมได้จากใคร
(1) มิลล์ (2) จารวาก (3) เพลโต (4) คานท์
ตอบ 1 มิลล์ เป็นนักปรัชญาจริยธรรมชาวอังกฤษผู้หนึ่งที่สนับสนุนแนวคิดสุขนิยมทางจิตวิทยา โดยเขา
ได้ให้ทัศนะที่พอจะสรุปได้ว่า เรามีความปรารถนาความสุขอยู่เสมอหรือความสุขเป็น
วัตถุประสงค์เพียงประการเดียวแห่งความปรารถนาของเรา
69. อสุขนิยมมีทัศนะว่ามนุษย์ควรแสวงหาสิ่งใด
(1) ความสนุก ความบันเทิง (2) การพัฒนาสติปัญญา
(3) การแสวงหาความสงบ (4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 จิตนิยม (อสุขนิยม) เชื่อว่า จุดมุ่งหมายของชีวิตมนุษย์คือ การพัฒนาสติปัญญาและการแสวงหา
ความสงบด้วยการมุ่งตัดกิเลสหรือความต้องการใด ๆ เนื่องจากปัญหาสังคมต่าง ๆ มักเกิดจาก
ความละโมบหรือความโลภอันเป็นความคิดที่ผิดของมนุษย์ ดังนั้นการแก้ปัญหาดังกล่าวจึงต้อง
เริ่มจากการฝึกฝนอบรมจิตใจของมนุษย์ให้ดีขึ้น
70. เบ็นธัม เน้นการแสวงหาความสุขตามข้อใด
(1) ความสุขอยู่ที่ความสงบของจิตใจ (2) ความสุขอยู่ที่ปริมาณการเสพ
(3) ความสุขอยู่ที่คุณภาพการเสพ (4) ความสุขอยู่ที่การไม่ทำผู้อื่นเดือดร้อน
ตอบ 2 เบ็นธัม เป็นนักปรัชญาที่อยู่ในกลุ่มลัทธิประโยชน์นิยมอย่างหยาบโดยเขาเน้นว่าการแสวงหา
ความสุขจะอยู่ที่ปริมาณการเสพ ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เป็นความสุข 2 อย่างขัดแย้งกัน เขาจึง
แนะนำให้คำนวณและเลือกการกระทำของเหตุการณ์ที่ให้ปริมาณความสุขมากที่สุด โดยไม่
ยอมรับความแตกต่างทางคุณภาพระหว่างความสุขด้วยกัน
71. จารวากเน้นความสำคัญในเรื่องใด
(1) กระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์และความสุขแก่ตนเองมากที่สุด
(2) กระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนจำนวนมากที่สุด
(3) กระทำสิ่งที่มีความสุขแก่คนจำนวนมากที่สุด
(4) กระทำสิ่งที่มีความสุขแก่ตนเอง
ตอบ 4 ปรัชญาจารวากหรือกลุ่มสุขนิยมตะวันออก จะเน้นให้กระทำแต่สิ่งที่มีความสุขแก่ตนเองเท่านั้น
โดยมีทัศนะต่อการดำรงชีวิตว่า เมื่อมีชีวิตอยู่ก็ควรแสวงหาความสุขให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
แม้จะต้องมีหนี้สินก็ไม่เป็นไร นอกจากนี้ยังเชื่อว่าความสุขทางประสาทสัมผัสเป็นจุดหมายสูงสุด
ของชีวิต ส่วนการกิน การดื่ม และการหาความสุขทางกามารมณ์เป็นยอดของความสุข
ข้อสอบ PY 103 18
72. หลักมหสุขในลัทธิประโยชน์นิยม ใช้สิ่งใดตัดสินการกระทำ
(1) แรงจูงใจ (2) ความสำนึกทางศีลธรรม
(3) การกระทำนั้น ๆ มีค่าทางศีลธรรมอย่างไร (4) ผลที่เกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก
ตอบ 4 มิลล์ เห็นว่า การแสวงหาความสุขของมนุษย์ควรยึดหลักมหสุขในลัทธิประโยชน์นิยม นั่นคือ
สิ่งที่ควรกระทำคือสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุขมากที่สุดแก่คนจำนวนมากที่สุด ดังนั้นสิ่งที่ใช้
ตัดสินการกระทำของมนุษย์ก็คือ ผลที่เกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากความถูกต้องมิได้
อยู่ที่เจตนาที่จะกระทำดีเพราะเป็นสิ่งที่วัดกันไม่ได้ แต่อยู่ที่ผลของการกระทำว่าสามารถ
ก่อให้เกิดความสุขหรือความพึงใจแก่คนจำนวนมากได้หรือไม่
73. การที่ตำรวจช่วยเหลือผู้ก่อคดีลักทรัพย์เพื่อลูกโดยอ้างว่าสงสาร ในกรณีใดเป็นการกระทำที่มีค่าความดี
ต่ำสุด ตามทัศนะของประโยชน์นิยม
(1) หวังว่าจะได้เลื่อนตำแหน่งและมีชื่อเสียง
(2) ช่วยเหลือโดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ
(3) หวังว่าผู้ที่ลักทรัพย์จะได้พ้นคดี
(4) ช่วยเหลือโดยหวังว่าผู้ที่ลักทรัพย์จะพ้นจากคดี และตนองได้เลื่อนตำแหน่งมีชื่อเสียง
ตอบ 2 ประโยชน์นิยม เห็นว่า มนุษย์ควรทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ เพราะมนุษย์เกิดมาเพื่อหา
ประโยชน์สุขให้กับตัวเองและคนจำนวนมาก ดังนั้นการกระทำที่มีค่าความดีสูงสุดในทัศนะของ
ประโยชน์นิยม คือ การกระทำที่หวังผลประโยชน์ให้กับตนเองและคนส่วนใหญ่ ส่วนการ
กระทำที่มีค่าความดีต่ำสุด คือ การกระทำที่ไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ
74. ประโยชน์นิยมเห็นด้วยกับข้อใด
(1) เจตนาดีเป็นสิ่งสำคัญ เพราะทำให้ผลที่เกิดขึ้นดีตามไปด้วย
(2) เราควรพูดความจริง เพราะความจริงเป็นสิ่งที่มีค่าในตัวเอง
(3) เราควรโกหก ถ้าการโกหกนั้นทำให้ทุกคนสบายใจ
(4) เราควรโกหกบ้าง เพราะความจริงไม่มีค่าในตัวเอง
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 72. ประกอบ
75. ประโยชน์นิยมยอมรับแนวคิดในข้อใด
(1) ควรแปรรูปการรถไฟ เพื่อพนักงานจะได้ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีขึ้น
(2) ควรแปรรูปการรถไฟ เพื่อจะเก็บเงินผู้โดยสารได้มากขึ้น พนักงานก็จะได้เงินมากขึ้น
(3) ไม่ควรแปรรูปการรถไฟ เพราะรถไฟเป็นของประชาชน
(4) ไม่ควรแปรรูปการรถไฟ เพราะหน้าที่ของการรถไฟคือบริการประชาชนในราคาถูก
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 72. และ 73. ประกอบ
ข้อสอบ PY 103 19
76. ตามหลักของคานท์ เจตนาดีคืออะไร
(1) การทำด้วยความหวังดี (2) การทำตามเงื่อนไข
(3) การทำด้วยความรัก (4) การทำตามหน้าที่
ตอบ 4 คานท์ ได้อธิบายว่า เจตนาดี หมายถึง การทำตามหน้าที่โดยใช้เหตุผลเป็นเครื่องนำทาง ทั้งนี้จะ
ไม่ใช้ความรู้สึกหรืออารมณ์เข้ามาตัดสิน เพราะจะทำให้ขาดความสำนึกในหน้าที่ ดังนั้นคนดีจึง
ต้องดูที่เจตนามิใช่ผลประโยชน์หรือผลตอบแทน เพราะเจตนาที่ดีเป็นความดีอย่างแท้จริง เป็น
ความดีที่ไม่มีเงื่อนไข และเป็นความดีที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง
77. คานท์มีแนวคิดเรื่องความดีอย่างไร
(1) ความดีอยู่ที่ความพอใจของแต่ละคน (2) ความดีอยู่ที่เกณฑ์การตัดสินของสังคมและวัฒนธรรม
(3) ความดีมีเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว (4) ความดีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
ตอบ 3 คานส์มีแนวคิดเรื่องความดีว่า ความดี ชั่ว ถูก ผิด มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัวมิใช่เปลี่ยนแปลง
ไปตามยุคสมัย หรือไม่ขึ้นอยู่กับอารมณ์ ความต้องการ และความพอใจของแต่ละคน ความดีจึง
ดีได้ด้วยตัวของมันเอง มิใช่ดีด้วยเกณฑ์การตัดสินของสังคมและวัฒนธรรม
78. ข้อใดเป็นลักษณะของกฎศีลธรรมตามทัศนะของคานท์
(1) “จงซื่อสัตย์กับแฟน ถ้าอยากให้ชีวิตคู่มั่นคง”
(2) “จงพูดความจริง เพราะคนดีต้องพูดความจริง”
(3) “จงตั้งใจเรียน เพราะการเรียนจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในชีวิต”
(4) “จงทำความดี เพราะความดีจะส่งผลให้เรามีความสุขในชีวิตนี้และชีวิตหน้า”
ตอบ 2 คานท์ได้พยายามสร้างกฎศีลธรรมขึ้น โดยวางหลักสำคัญประการหนึ่งก็คือจงทำเฉพาะที่เมื่อท่าน
ทำแล้วเป็น “กฎสากล” นั่นคือ กฎที่คนทุกคนต้องทำได้เหมือนกันซึ่งหมายความว่า สิ่งที่ถูกนั้น
คือสิ่งที่เป็นสากล และจงทำสิ่งที่คนอื่นอาจทำตามได้ โดยไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่สังคม
รวมทั้งต้องไม่หวังสิ่งใดเป็นผลตอบแทน
79. ข้อใดที่กลุ่มหน้าที่นิยมและประโยชน์นิยมมีความเห็นสอดคล้องกัน
(1) ถ้าจำเป็นเราก็ควรโกหก (2) รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
(3) เกียรติยศ ชื่อเสียง อำนาจ เป็นสิ่งที่มนุษย์ควรแสวงหา (4) การทำเพื่อตัวเองเป็นสิ่งที่ผิด
ตอบ 4 สิ่งที่กลุ่มเหตุผลนิยมหรือหน้าที่นิยมและกลุ่มประโยชน์นิยมมีความเห็นสอดคล้องกัน คือ การ
กระทำเพื่อตัวเองเป็นสิ่งที่ผิด ทั้งนี้เนื่องจากกลุ่มเหตุผลนิยมมองว่าการจะทำอะไรก็ตามให้รู้จัก
นึกถึงผู้อื่น และให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา ส่วนกลุ่มประโยชน์นิยมมองว่าการจะทำอะไรก็ตามให้
คำนึงถึงประโยชน์ของตนเองและผู้อื่นเป็นหลัก
ข้อสอบ PY 103 20
80. ปรัชญาเศรษฐกิจแบบตะวันตกยึดแนวคิดในข้อใด
(1) G : Goodness, C : Community and Culture, K : Knowledge
(2) P : Power, M : Money, G : Goodness
(3) K : Knowledge, P : Power, M : Money
(4) K : Knowledge, P : Power
ตอบ 3 การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจแบบตะวันตก จะยึดหลักการพัฒนา 3 ประการ คือ
1. พัฒนาความรู้ (Knowledge: K) 2. พัฒนาอำนาจ ( Power: P) 3. พัฒนาระบบทุนหรือ
เงินตรา ( Money: M) เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและเพื่อความร่ำรวย
81. อารยธรรมตะวันตกเน้นเกษตรกรรมของแต่ละชุมชนตามข้อใด
(1) ปลูกพืชชนิดเดียวเพื่อการค้า (2) ปลูกพืชหลายชนิดเพื่อการค้า
(3) ปลูกพืชชนิดเดียวเพื่อพออยู่พอกิน (4) ปลูกพืชหลายชนิดเพื่อพออยู่พอกิน
ตอบ 1 การทำเกษตรกรรม แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. การปลูกพืชเชิงเดี่ยว คือ การปลูกพืชเพียงชนิดเดียวในพื้นที่เพื่อการค้า เช่น ข้าว อ้อย
สัปปะรด ฝ้าย ยางพารา ปาล์ม ฯลฯ ซึ่งเป็นแนวคิดของอารยธรรมตะวันตก
2. การปลูกพืชเชิงผสมผสาน คือ การปลูกพืชหลายชนิดในพื้นที่ที่มีอยู่ เพื่อบริโภค ใช้
สอยให้ร่มเงา และสร้างรายได้เพื่อให้พออยู่พอกิน ซึ่งเป็นแนวคิดของอารยธรรม
ตะวันออก
82. ผลกระทบจากการปลูกพืชชนิดเดียวตามแนวคิดของตะวันตกต่อสังคมไทยปัจจุบัน คือข้อใด
(1) ประชาชนมีรายได้มาก และมีรายจ่ายมาก (2) ประชาชนมีรายได้มาก แต่รายจ่ายน้อย
(3) ประชาชนมีรายได้น้อย แต่รายจ่ายมาก (4) ประชาชนมีรายได้น้อย และรายจ่ายน้อย
ตอบ 3 ผลกระทบจากการปลูกพืชชนิดเดียวตามแนวคิดตะวันตกต่อสังคมไทยในปัจจุบันคือ มีรายได้
น้อย แต่มีรายจ่ายมาก เพราะเกษตรกรรมเพื่อการค้านั้นจะต้องใช้เงินลงทุนสูงและราคาของ
ผลผลิตจะขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดโลก ส่วนหลักทฤษฎีใหม่และปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงตามแนวพระราชดำรินั้นมีหลักการเบื้องต้น คือ มีรายได้มาก (มีรายได้ทั้งรายวัน ราย
สัปดาห์ รายเดือน รายปี) แต่มีรายจ่ายนอ้ ย โดยมุ่งเนน้ ให้เกษตรกรใช้ระบบการปลูกพืชเชิง
ผสมผสานเป็นหลัก
83. หลักทฤษฎีใหม่ แบ่งพื้นที่ใช้สอย (10 ส่วน) เบื้องต้นตามข้อใด
(1) สระน้ำ 3, นาข้าว 3, พืชไร่-สวน 3, บ้าน สวนครัว สัตว์เลี้ยง 1
(2) สระน้ำ 3, นาข้าว 3, พืชไร่-สวน 1, บ้าน สวนครัว สัตว์เลี้ยง 3
(3) สระน้ำ 3, นาข้าว 1, พืชไร่-สวน 3, บ้าน สวนครัว สัตว์เลี้ยง 3
(4) สระน้ำ 1, นาข้าว 3, พืชไร่-สวน 3, บ้าน สวนครัว สัตว์เลี้ยง 3
ข้อสอบ PY 103 21
ตอบ 1 หลักทฤษฎีใหม่แบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น 10 ส่วน (100 %) แล้วจัดสรรพื้นที่ในเบื้องต้น
ดังนี้คือ 1. พื้นที่ขุดสระน้ำ 3 ส่วน (30 %) 2. พื้นที่ทำนาข้าว 3 ส่วน (30%) 3. พื้นที่ทำพืช
สวน-พืชไร่ 3 ส่วน(30 %) 4. พื้นที่ปลูกบ้าน ทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ 1 ส่วน (10%)
84. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยึดหลักการพัฒนาตามข้อใด
(1) G : Goodness, C : Community and Culture, K : Knowledge
(2) P : Power, M : Money, G : Goodness
(3) K : Knowledge, P : Power, M : Money
(4) K : Knowledge, P : Power
ตอบ 1 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยึดหลักกาพัฒนา 3 ประการ คือ
1. พัฒนาความดี (Goodness: G)
2. พัฒนาวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกัน (Community and Culture : C)
3. พัฒนาความรู้ (Knowledge: K) ทั้งนี้ก็เพื่อให้พออยู่พอกินและมีไมตรีจิตต่อกัน
85. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีแนวคิดทางการเกษตรตามข้อใด
(1) ปลูกพืชชนิดเดียวเพื่อการค้า
(2) ปลูกพืชหลายชนิดเพื่อการค้า
(3) ปลูกพืชชนิดเดียวเพื่อพออยู่พอกิน
(4) ปลูกพืชหลายชนิดเพื่อพออยู่พอกินและเพื่อการค้า
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 81. และ 82. ประกอบ
86. “รัฐเป็นสิ่งธรรมชาติ” มีความหมายอย่างไร
(1) สภาพธรรมชาติของมนุษย์ที่ปราศจากรัฐ (2) สภาพที่ต้องอยู่ภายใต้รัฐโดยธรรมชาติ
(3) ปรากฎการณ์ธรรมชาติ (4) ดำเนินชีวิตตามธรรมชาติภายในรัฐ
ตอบ 2 เพลโตและอริสโตเติล เห็นว่า รัฐและสังคมเป็นธรรมชาติของมนุษย์ กล่าวคือ มนุษย์จำเป็นต้อง
อยู่ภายใต้รัฐ เนื่องจากสังคมและรัฐที่ดีที่สุดนั้นจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์มีชีวิตที่ดีที่สุดตามไป
ด้วย
87. ข้อใดคือคุณค่าของรัฐในทัศนะของล็อค
(1) ช่วยปกป้องชีวิต (2) ช่วยพัฒนาเหตุผล
(3) ช่วยปกป้องสิทธิและเสรีภาพ (4) ช่วยในการกลับใจ (Conversion)
ตอบ 3 ล็อค เห็นว่า โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีสิทธิกำหนดการกระทำของตนเองโดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับคำ
ยินยอมหรือเจตนารมณ์ของใครทั้งสิ้น นอกจากนี้มนุษย์ทุกคนยังมีสิทธิบังคับใช้กฎธรรมชาติ ถ้า
มีการละเมิดชีวิตส่วนตนหรือทรัพย์สิน ทุกคนก็มีสิทธิป้องกันตนเองตามกฎธรรมชาติ ซึ่งมักจะ
จบลงในลักษณะของความขัดแย้ง ดังนั้นมนุษย์จึงจำเป็นต้องจัดตั้งรัฐขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ป้องกัน
สิทธิและเสรีภาพที่มีตามธรรมชาติแทนมนุษย์ทุกคน
ข้อสอบ PY 103 22
88. นักปรัชญาคนใดถือว่า ความมีปัญญาคือหลักในการคัดเลือกผู้ปกครอง
(1) เพลโต (2) เซนต์ ออกัสติน (3) อริสโตเติ้ล (4) ล็อค
ตอบ 1 เพลโต เห็นว่า จิตของมนุษย์มี 3 ภาค ได้แก่ ภาคตัณหา ภาคน้ำใจ และภาคปัญญา ซึ่งหาก
สังคมใดสามารกำหนดให้มนุษย์สามารถทำหน้าที่ที่เหมาะสมกับจิตของตนแล้ว เมื่อนั้นความ
ยุติธรรมก็จะปรากฏขั้นในสังคม นอกจากนี้จิตแต่ละประเภทยังเป็นสิ่งที่ใช้ในการคัดเลือก
ผู้ปกครองด้วย โดยบุคคลที่เหมาะสมที่สุดและดีที่สุดสำหรับการเป็นผู้ปกครองก็คือ ราชาปราชญ์
ซึ่งเป็นบุคคลที่มีจิตภาคปัญญาเด่นกว่าภาคอื่น ๆ
89. คุณธรรมพื้นฐานของรุสโซ คือข้อใด
(1) การไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน (2) ความรักและความเอื้ออาทร
(3) ความภักดีต่อกลุ่ม (4) ความมีเหตุผล
ตอบ 1 รุสโซ เห็นว่า วิถีชีวิตมนุษย์สมัยดึกดำบรรพ์แม้จะเป็นชีวิตที่ค่อนข้างลำบากแต่ก็เป็นชีวิตที่มี
ความสุข เพราะเป็นชีวิตที่อิสระและมนุษย์ได้กระทำตามความปรารถนาของตนรวมทั้งมนุษย์ยังมี
คุณธรรมพื้นฐานง่าย ๆ คือ การไม่สร้างความเจ็บปวดให้กับเพื่อนมนุษย์หรือการไม่ทำให้ผู้อื่น
เดือนร้อน
90. รัฐที่ปราศจากการกดขี่เกิดจากปัจจัยใดในทัศนะของ Marx
(1) รัฐมีกฎหมายยุติธรรม (2) รัฐมีผู้ปกครองที่มีคุณธรรม
(3) รัฐที่ปัจจัยการผลิตเป็นของส่วนรวม (4) ไม่มีรัฐใดที่ไม่กดขี่
ตอบ 3 สังคมในอุดมคติของมาร์กซ์ (Marx) คือ สังคมที่ไม่มีชนชั้นและปราศจากการกดขี่เพราะ
พื้นฐานการผลิตเป็นแบบคอมมูน นั่นคือ ไม่มีใครเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต หรือปัจจัยการผลิต
เป็นของ่วนรวมเท่านั้น และรัฐเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับสังคม โดยสมาชิกของสังคมสามารถ
ปกครองดูแลตนเองและควบคุมความประพฤติของตนเองได้ นอกจากนี้มาร์กซ์ยังเชื่อว่าหาก
สังคมได้วิวัฒนาการไปจนถึงจุดสูงสุดแล้ว รัฐก็จะสลายตัวไปในที่สุด
91. รูปแบบการปกครองที่สามารถให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนได้ตามทัศนะของ เซนต์ ออกัสติน คือข้อใด
(1) รัฐที่มีกฎหมายยุติธรรม (2) รัฐมีผู้ปกครองที่มีคุณธรรม
(3) รัฐที่ปัจจัยการผลิตเป็นของส่วนรวม (4) การอยู่ภายใต้ศาสนจักร
ตอบ 4 เซนต์ ออกัสติน (St. Augustine) มีทัศนะว่า รัฐมีความสำคัญน้อยกว่าศาสนจักรทั้งนี้
เพราะศาสนจักรเป็นนครแห่งพระเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกรัฐนอกศาสนาหรือรัฐที่ไม่นับถือ
ศาสนาคริสต์เป็นรัฐที่ไม่สามารถทำให้เกิดความยุติธรรมในสังคมได้เลย เพราะความยุติธรรมจะ
เกิดเฉพาะในรัฐและในสังคมที่เคารพบูชาพระเจ้าเท่านั้น
ข้อสอบ PY 103 23
92. วิลเลี่ยม ก๊อดวิน มีความเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลตามข้อใด
(1) รัฐบาลเป็นสิ่งจำเป็นของการปกครอง
(2) รัฐบาลควรอยู่ภายใต้อำนาจของศาสนจักร
(3) รัฐบาลเป็นสิ่งชั่วร้ายทั้งสิ้น
(4) รัฐบาลเป็นสิ่งที่สามารถให้ความยุติธรรมแก่ประชาชน
ตอบ 3 ก๊อดวิน (Godwin) มีแนวคิดว่า องค์กรทุกรูปแบบโดยเฉพาะรัฐบาลเป็นสิ่งที่ชั่วร้ายทั้งสิ้น
เพราะองค์กรเหล่านี้ทำให้ขาดการคำนึงถึงความสำคัญของปัจเจกบุคคลในฐานะปัจเจกบุคคล แต่
กลับพิจารณาปัจเจกบุคคลในฐานะเป็นเพียงจักรเฟืองตัวหนึ่งของสังคมเท่านั้น
93. ข้อใดคือคติที่ตรงกับปรัชญาการศึกษาของโสคราตีส
(1) ความรู้คู่คุณธรรม (2) ความรู้เหมือนดาบ 2 คม
(3) มีปัญญาเหมือนอาวุธ (4) รู้มากยากนาน
ตอบ 1 โสคราตีส จะยึดมั่นในความจริงเชิงปรนัย (Objective) โดยเขาเห็นว่าคุณค่าทางการศึกษามิใช่
กระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์และความสำเร็จเฉพาะตนเท่านั้น
แต่การศึกษาต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อการคนพบสัจธรรมหรือความจริงเกี่ยวกับคุณธรรม เช่น การ
พยายามหาคำตอบให้ได้ว่า “ความดีที่แท้จริงคืออะไร” เป็นต้น
94. “ผลประโยชน์และความสำเร็จ” คือเป้าหมายของการศึกษาตามแนวคิดของใคร
(1) โซฟิสต์ (2) เพลโต (3) เซนต์ ออกัสติน (4) ลัทธิปฏิบัตินิยม
ตอบ 1 โซฟิสต์ (Sophists) ถือเป็นนักปรัชญากลุ่มแรกที่กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษาไว้ว่า
การศึกษามิใช่เป็นเพียงการถ่ายทอดวัฒนธรรมเท่านั้น แต่การศึกษาควรมีจุดประสงค์อยู่ที่การ
ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความสำเร็จในชีวิต คือสามารถได้รับผลประโยชน์ตอบแทน โดยวิชาที่กลุ่ม
โซฟิสต์ส่งเสริมให้เรียน ก็คือ ศิลปะการพูดในที่ชุมชนหรือวาทศิลป์นั่นเอง
95. “ความรู้เพื่อการกลับใจ” (Conversion) คือเป้าหมายของการศึกษาของใคร
(1) โซฟิสต์ (2) เพลโต (3) เซนต์ ออกัสติน (4) ลัทธิปฏิบัตินิยม
ตอบ 3 เป้าหมายการศึกษาของเซนต์ ออกัสติน จะสัมพันธ์กับทัศนะทางศาสนาของเขา กล่าวคือ เขา
เห็นว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษาก็คือ การกลับใจ (Conversion) ไปรักพระเจ้าและการสำนึก
ในบาป (Repentance) ของตนเองที่หันเหไปจากพระเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้มนุษย์พบ
ความสุขที่แท้จริงได้
96. วิธีการศึกษาในระดับเริ่มแรกของเซนต์ ออกัสติน คือวิธีการใด
(1) ศึกษาอย่างเป็นอิสระ (2) อ่านคัมภีร์ไบเบิ้ลเป็นหลัก
(3) เรียนปรัชญาเป็นหลัก (4) เรียนพลศึกษา
ข้อสอบ PY 103 24
ตอบ 2 เซนต ออกัสติน ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. ระดับเริ่มแรก เป็นการศึกษาวิชาศิลปะศาสตร์ ซึ่งเป็นการศึกษาแบบเข้มงวดและบังคับให้
เชื่อโดยยังไม่ใช้เหตุผล เช่น การอ่านคัมภีร์ไบเบิ้ลเป็นหลัก
2. ระดับก้าวหน้า เป็นการศึกษา 2 วิชาสำคัญ คือ เทววิทยาและปรัชญา ซึ่งเป็นการศึกษาแบบ
ใช้เหตุผลและการพิสูจน์ให้เห็นจริงด้วยตนเองว่าทำไมความเชื่อและศรัทธาในขั้นเริ่มแรกจึง
ถูกต้อง
3.
97. วิธีการศึกษาในระดับเริ่มแรกของเพลโต คือวิธีการใด
(1) ศึกษาอย่างเป็นอิสระ (2) อ่านคัมภีร์ไบเบิ้ลเป็นหลัก
(3) เรียนปรัชญาเป็นหลัก (4) เรียนพลศึกษา
ตอบ 4 เพลโต เห็นว่า รูปแบบการศึกษาจะต้องเริ่มต้นด้วยการคัดเลือกเด็กที่มีร่างกายสมบูรณ์มาฝึกกีฬา
ต่อมาจึงเรียนการอ่านการเขียนและเรียนคณิตศาสตร์ พออายุประมาณ 20 ปี ผู้ที่เหมาะสมจะได้
เรียนคณิตศาสตร์บริสุทธ์ และจวบจนอายุ 30 ปี ผู้ที่เหมาะสมจะได้เรียนอภิปรัชญา ซึ่งเป็น
กลุ่มบุคคลที่จะเป็นราชาปราชญ์
98. วิธีการศึกษาในระดับเริ่มแรกของรุสโซ คือวิธีการใด
(1) ศึกษาอย่างเป็นอิสระ (2) อ่านคัมภีร์ไบเบิ้ลเป็นหลัก
(3) เรียนปรัชญาเป็นหลัก (4) เรียนพลศึกษา
ตอบ 1 รุสโซ เห็นว่า การศึกษาที่ถูกต้องควรเน้นให้เด็กเติบโตอย่างเป็นอิสระ ดังนั้นการศึกษาในขั้น
เริ่มแรกสำหรับเด็กก็คือ การเปิดโอกาสให้เด็กมีประสบการณ์หรือได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของ
ตนเอง มิใช่การเรียนรู้โดยการอ่านหนังสือ ทั้งนี้เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการศึกษาขั้นสูงสุด คือ การมุ่ง
สู่ความดีของคนทั้งสังคม หรือความปรารถนาดีต่อคนอื่น ๆ นั้นเอง
99. ข้อใดคือจุดหมายของการศึกษาในขั้นสุดท้ายในทัศนะของรุสโซ
(1) ความสามารถในการแก้ปัญหา (2) ความสามารถในการใช้เหตุผล พิสูจน์ความศรัทธา
(3) ความปรารถนาดีต่อคนอื่น ๆ (4) ความสำนึกในสิทธิเสรีภาพ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 98. ประกอบ
100. ข้อใดคือจุดหมายของการศึกษาในขั้นสุดท้ายในทัศนะของลัทธิปฏิบัตินิยม
(1) ความสามารถในการแก้ปัญหา (2) ความสามารถในการใช้เหตุผล พิสูจน์ความศรัทธา
(3) ความปรารถนาดีต่อคนอื่น ๆ (4) ความสำนึกในสิทธิเสรีภาพ
ตอบ 1 ลัทธิปฏิบัตินิยม เป็นปรัชญาที่ยึดถือในประสิทธิภาพทางการปฏิบัติหรือผลทางการปฏิบัติซึ่งเป็น
มาตรฐานสำหรับวัดความถูกต้อง โดยเป้าหมายของการศึกษาคือการสร้างให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่พร้อม
จะแก้ปัญหาของตนด้วยตนเอง ดังนั้นในการศึกษาจะต้องมีการทดลองปฏิบัติจริง มิใช่มุ่งที่การ
เรียนรู้เชิงทฤษฎีเท่านั้น

แนะแนวข้อสอบ ภูมิภาค

แนะแนวข้อสอบส่วนภูมิภาค
GM303 และ GM307 ลักษณะข้อสอบจะเป็นปรนัย ให้อ่านของพี่เป็ดน้อย ถ้าสอบเทอมไหนให้
อ่านย้อนหลัง เช่น สอบเทอม 1/2552 ให้อ่านย้อนหลัง เป็นเทอม 1/5551, 1/2550,1/2549
คำตอบจะตอบข้อเดิม จะเปลี่ยนแค่โจทก์ตัวเลขเท่านั้น
 AC234 ถ้าไปเรียนอาจารย์จะให้ข้อสอบมา 3 ข้อ และจะออกทุกเทอม อยากได้ก็ขอทางเมล์นะคะ
 LW215, LW317 ,GM423, GM425, GM403, GM406, GM408, GM304, MB303,
GM421,GM103 เป็นข้อสอบอัตนัย ให้อ่านของพี่เป็ดน้อย เพราะจะเหมือนเทอมละ 2 ข้อ
แค่นี้ก็ผ่านแล้วนะคะ
 แต่ GM422, GM420 ข้อสอบเป็นแบบผสมกันนะคะ ทั้งปรนัย อัตนัย และเติมคำ ก็ค่อนข้างยากนะ
 IS103, PC103, EC111, PS110, PY103, TH103, HI103, EC112, IT104, GM203, MK203,
GM302, GM315, MC331, HR201, HR302, HR303 เป็นข้อสอบปรนัย
ให้อ่านของชมรมลูกพ่อขุนประยุกต์ เพราะจะตรงเกือบทุกข้อ รับรองได้ G แน่นอน
 EN101, EN102 ข้อสอบเป็นปรนัย แต่ต้องท่องคำศัพท์ให้ได้นะคะ เพราะออกค่อยข้างเยอะ
ให้อ่านของชมรมลูกพ่อขุนประยุกต์
 EN201, EN202, BA303, BA304 เป็นข้อสอบปรนัย แต่จะกำหนดเรื่องมาให้ต้องพยายามอ่านหรือ
ไม่ก็เทียบข้อสอบให้ได้
 MA113, MA114 เป็นข้อสอบปรนัย  แต่จะใช้การคำนวณเหมือนเดิมต้องพยายามอ่านให้และฝึก
คำนวณบ่อยๆ โดยเฉพาะการหาอนุพันธ์ การอินทิเกต ถ้าสอบไม่ผ่านซักทีจะมีจัอบรมนะคะ
แต่ต้องติดตามข่าวรามตลอดนะ
 ST203, ST206 เป็นข้อสอบอัตนัยแบบเติมนะคะ  ต้องไปเรียนกับอาจารย์จึงจะเข้าใจและได้แนว
ข้อสอบ ถ้าสอบไม่ผ่านซักทีจะมีจัอบรมนะคะ  แต่ต้องติดตามข่าวรามตลอดนะ
AC101, AC102, AC234, MB203 เป็นข้อสอบอัตนัย ต้องไปเรียนกับอาจารย์จึงจะเข้าใจและได้
แนวข้อสอบ  ส่วนมากข้อสอบจะเปลี่ยนแค่ตัวเลข แต่ใช้หลักการคิดเดิม

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554

GM 103

GM 103
ข้อสอบจะออกเป็นอัตนัย 4 ข้อ ของเทอม 1/49 อาจารย์ให้อธิบายเกี่ยวกับ
1. เรื่องการกำหนดราคา ให้อธิบายและยกตัวอย่าง
2. ให้อธิบายตัวต่อต่างๆ ของเงื่อนไขในการส่งสินค้า เช่น F.O.B (คือให้ไปดูหนังสือส่วนที่เป็นตัวย่อ ของการขนส่ง ความหมาย อาจารย์ออกมาให้บอกความหมายประมาณ 4 ตัว นกจำไม่ได้หมดค่ะ )
3. ให้บอกความแตกต่างหรือความเหมือนระหว่างผู้จัดการที่มีฐานะเป็นเจ้าของ กิจการและผู้จัดการมืออาชีพ (ที่จ้างมาทำงานในตำแหน่งผู้จัดการ)
4. ให้อธิบาย ความแตกต่างของพันธบัตร ( Bonds) , หุ้นสามัญ และหุ้น บุริมสิทธิ์

AC101 ต่อ ข้อมูลเพิ่มเติมข้อสาม

ข้อมูลเพิ่มเติม บริษัทมีรอบระยะ บัญชี 1.-31 .2548
1.            สินค้าคงเหลือตรวจนับและตีราคาได้ 550000 บาทวัสดุสำนักงานคงเหลือ 36000 บาท
2.            รายได้ค่าเช่าเป็นรายได้ค่าเช่าสำหรับระยะเวลา 1 ปี เริ่ม 1 มีนาคม 2548
3.            ค่าโฆษณาเป็นค่าโฆษณาสำหรับระยะเวลา 1 ปีเริ่ม 1ธันวาคม 2548
4.            ค่าเสื่อมราคาอาคาร คิด 5% ต่อปี อุปกรณ์สำนักงาน 20% ต่อปี (อุปกรณ์สำนักงานในงบทดลองมีส่วนที่ซื้อเมื่อ 1 เมษายน 2548 จำนวน 4000 บาท
5.            บริษัทคิดดอกเบี้ยอัตรา 3 % ต่อปีของเงินให้กู้ยืม ( ให้กู้เมื่อ 1 พฤษภาคม 2548 )กิจการยังไม่ได้รับเงินและยังไม่ได้บันทึกรับรู้รายการดอกเบี้ยดังกล่าว
6.            บริษัทกู้ยืมเงินมาเมื่อวันที่ 1ตุลาคม 2548 อัตราดอกเบี้ย 5% กิจการยังไม่ได้จ่ายเงินและยังไม่ได้บันทึกรายการดอกเบี้ยดังกล่าว
7.            เงินเดือนของเดือนธันวาคม 2548 ยังไม่ได้จ่าย 60000 บาท
8.            ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญให้มียอดเท่ากับ 2% ของลูกหนี้สิ้นปี
ให้ทำ         1.         บันทึกรายการปรับปรุงและปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป
1.                        กระดาษทำการของบริษัท แก้วใส จำกัด สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคมม 2548

AC101 ต่อ

ข้อ 3 ต่อไปนี้เป็นกระดาษทำการของ บริษัท แก้วใส จำกัด สำหรับงวด 1 ปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม พ.ศ 2548
  
บริษัท แก้วใส จำกัด
     
กระดาษทำการ
 
สำหรับปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม พ.ศ 2548
 



 ชื่อบัญชี
 งบทดลอง
 รายการปรับปรุง
 งบกำไรขาดทุน
 งบดุล

 เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต
เดบิต
เครดิต

เงินสด
254200








เงินฝากธนาคาร
462000








ลูกหนี้
679000








ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

3200







สินค้าคงเหลือ
687000








วัสดุสำนักงาน
53000








เงินให้กู้ยืม
500000








ที่ดิน
4600000








อาคาร
2000000








ค่าเสื่อมราคมสะสม

500000







อุปกรณ์สำนักงาน
290000








ค่าเสื่อมราคาสะสม

100000







เจ้าหนี้

223000







เงินกู้ยืม

1500000







ทุนหุ้นสามัญ

5000000







กำไรสะสม

334000







ขาย

6000000







รายได้ค่าเช่า

360000







รับคืน
10000








ส่วนลดจ่าย
24000








ซื้อ
3600000








ค่าขนส่งเข้า
12000








ส่วนลดรับ

112000







ส่งคืน

29000







เงินเดือน
660000








ค่าโฆษณา
60000








ค่าน้ำ-ค่าไฟ
136000








ค่ารับรอง
66000








ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตร็ด
8000









14101200
14161200